http://www.autoflight.co.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

Home

Product

Download

Contact Us

ส่วนหนึ่งของผู้ใช้งาน

SmartBiz Free

สถิติ

เปิดเว็บ08/02/2008
อัพเดท18/09/2024
ผู้เข้าชม5,056,424
เปิดเพจ7,931,834

แหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่องานบัญชี.

สรรพากรเปิดให้บริการรับแบบฯ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจ าปีภาษี 2556 นอกสถานที่เพิ่มเติม

1ก.พ.เริ่มใช้เลขผู้เสียภาษี13หลัก

ผู้เสียภาษีที่มีความประสงค์ที่จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต

"สรรพากร" เคาะภาษีบุคคลฯ อัตราใหม่ เล็งปรับลดอัตราเพดานการจัดเก็บให้ถี่ขึ้น เพื่อลดช่องว่างในแต่ละช่วงอัตราภาษีให้แคบลง

สปส.ขยายเวลายื่นกู้น้ำท่วมถึงเดือนเมษายน 255

แนวทางการช่วยเหลือโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

มาตร​การภาษี​เพื่อ​เพิ่มขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขันของประ​เทศ

ผู้บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย สามารถหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาได้ โดย

มาตรการลดภาษีสรรพสามิตสูงสุด 100,000 บาท

สัมมนาฟรี มุมมองของฟิทช์เกี่ยวกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทย

หลักการบันทึกบัญชี : หลักการบันทึกรายการทางบัญชี (Recording transaction)

ธนาคารกรุงไทย เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทารา แนวหน้า SME นักธุรกิจ แกรนด์ สัมมนาฟรี

กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

กรมสรรพากรจับมือศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐ 1111 ให้บริการตอบปัญหาภาษีทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

วิธีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี

ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (1161) ผ่านช่องทางโทรศัพท์ในระบบ Call Center ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

มาตรฐานบัญชีของไทยในปัจจุบัน

แบงก์กรุงไทยแนะรีบชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต

การบัญชีบริหาร

สรรพากรใจดีให้คนไทยที่บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย

เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล

สรรพากรเผยบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นขอลดหย่อนภาษีได้

กำหนดการจัดสัมมนาภาษีอากร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรมสรรพากรจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ E - Commerce

ปีนี้ยังจำเป็นต้องคงภาษีมูลค่าเพิ่ม ( VAT) ไว้ที่ 7% ก่อน

การประเมินระดับนวัตกรรม SMEs ไทย และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจ

บริการรับ ชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต

การประกอบกิจการต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

ภาษีคณะบุคคล

มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ภาษีคณะบุคคล

การบัญชีต้นทุน

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร

การควบคุมภายในเกี่ยวกับ การรับเงิน

ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำสินค้าที่มีไว้เพื่อขายมาใช้เพื่อการประกอบกิจการ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล โปรแกรมบัญชี

รวมคำถามที่ถามบ่อย

สิ่งที่ผู้บริหารมือใหม่ควรทราบเป็นเบี้องต้น

จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ มีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ !!

กรมสรรพากรขยายเวลารับแบบฯ ภาษีเต่างๆสำหรับบุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้กับท้องที่ที่เกิดอุทกภัย

กฎหมายออกใหม่ กรกฎาคม 2550

ข้อหารือภาษีอากร

Tax Point จุดรับผิดทางภาษี

คำถามยอดนิยม RMF LTF

การขอคืนภาษี

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้

การจำหน่ายหนี้สูญ

การขอคัดแบบแสดงรายการภาษี

การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร

การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้

ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีอากร

ทำไม กิจการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0

การออกใบกำกับภาษี

ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี

ประเภทของใบกำกับภาษี

การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

สิทธิของผู้เสียภาษี

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี

กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กำหนดหลักเกณฑ์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการขายทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร

กรมสรรพากรเตือนบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการได้รับดอกเบี้ยเงินฝาก

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการได้รับดอกเบี้ยเงินฝาก 
ข้อกฎหมาย : มาตรา 50(2) และมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร 

ข้อหารือ
           1. การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 137) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร เฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2548
               1.1 การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 137)ฯ ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2548 ต้องเป็นกรณีผู้มีเงินได้เงินฝากประจำตั้งแต่หนึ่งปี และผู้ฝากเงินต้องมีอายุ 55 ปี ขึ้นไปใช่หรือไม่ และมีหลักเกณฑ์การนับอายุอย่างไร
               1.2 กรณีผู้มีเงินได้มีบัญชีเงินฝากประจำตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป แต่ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากเป็นรายเดือน จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยดังกล่าวหรือไม่
               1.3 กรณีผู้มีเงินได้มีบัญชีเงินฝากประจำตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป และมีบัญชีเงินฝากประจำหกเดือนด้วย และได้รับดอกเบี้ยเงินฝากทั้งสองบัญชีรวมกันไม่เกินสามหมื่นบาทตลอดปีภาษี จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวหรือไม่
               1.4 การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 137)ฯ ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2548 หมายถึงผู้มีเงินได้ไม่ต้องนำดอกเบี้ยเงินฝากไปรวมคำนวณภาษีเลย หรือผู้มีเงินได้ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ก่อนแล้วจึงนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีในปีภาษีนั้น
          2. การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ข้อ 2 (38) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 200 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
               2.1 กรณีผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์จากธนาคารแห่งเดียวกันสองบัญชี โดยบัญชีที่หนึ่งได้รับจำนวนสี่หมื่นบาท และจากอีกบัญชีหนึ่งจำนวนสี่พันบาท จะคำนวณภาษีอย่างไร
               2.2 กรณีผู้มีเงินได้ได้ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์จากธนาคารแห่งหนึ่งจำนวนห้าหมื่นบาท และจากธนาคารอีกแห่งหนึ่งจำนวนห้าพันบาท จะคำนวณภาษีอย่างไร
          3. การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 301) พ.ศ. 2539 หากผู้มีเงินได้ได้เปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ฝากเงินเป็นรายเดือนติดต่อกันมีระยะเวลาไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่เดือน เป็นจำนวนหลายธนาคารจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งหมด หรือไม่
          4. การยกเว้นเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ได้มีกฎหมายบังคับใช้แล้วหรือไม่
          5. ผู้มีเงินได้จ่ายดอกเบี้ยจากการซื้อสิ่งปลูกสร้างหรืออสังหาริมทรัพย์ของบริษัทบริหารสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ธนาคาร จะสามารถนำดอกเบี้ยมาหักลดหย่อนได้หรือไม่
          6. การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (2) - (8) สำหรับเงินได้พึงประเมินที่มีจำนวนไม่เกินหนึ่งล้านบาท ได้มีผลบังคับใช้แล้วหรือไม่ และในกรณีนี้หากผู้มีเงินได้ไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ประจำปีแล้วจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ครึ่งปีหรือไม่ 
แนววินิจฉัย           1. กรณีตาม 1. การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 137)ฯ ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2548
               1.1 ผู้มีเงินได้ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับดังกล่าว ต้องเป็นผู้มีเงินได้ที่ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรเฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป แต่เมื่อรวมกับดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทรวมกันแล้วต้องมีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกินสามหมื่นบาทตลอดปีภาษีนั้น และผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ โดยการนับอายุผู้มีเงินได้ครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ ให้นับตามวัน เดือน ปี ที่ผู้ฝากเงินเกิด
               1.2 กรณีธนาคารคำนวณจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากให้ผู้มีเงินได้เป็นรายเดือนเป็นสิทธิของธนาคารฯ ที่จะกำหนด วิธีการจ่ายดอกเบี้ยตามระเบียบของธนาคารฯ แต่ผู้มีเงินได้จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรเฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป แต่เมื่อรวมกับดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทรวมกันแล้วต้องมีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกินสามหมื่นบาทตลอดปีภาษีนั้น และผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์
               1.3 กรณีผู้มีเงินได้มีบัญชีเงินฝากประจำตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป และมีบัญชีเงินฝากประจำหกเดือนด้วย ผู้มีเงินได้ จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรเฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่มีระยะเวลา การฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป แต่เมื่อรวมกับดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทรวมกันแล้วต้องมีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกินสามหมื่นบาทตลอดปีภาษีนั้น และผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์
               1.4 ดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้หมายถึง เงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากไม่ต้องนำไปรวมคำนวณ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้จ่ายเงินได้ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายแต่อย่างใด และดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่มีระยะเวลาการฝาก เงินตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไปนั้นต้องได้รับนับตั้งแต่วันที่กฎหมายใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548
          2. กรณีตาม 2. หากผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์จากธนาคารแห่งเดียวกันสองบัญชี โดยบัญชีที่หนึ่งได้รับจำนวนสี่หมื่นบาท และจากอีกบัญชีหนึ่งจำนวนสี่พันบาท ผู้มีเงินได้มีหน้าที่เสียภาษีจากดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ดังกล่าวโดยธนาคารฯ มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร
          สำหรับกรณีผู้มีเงินได้ได้ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์จากธนาคารแห่งหนึ่งจำนวนห้าหมื่นบาท ธนาคารผู้จ่ายมี หน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ที่ได้รับจากธนาคาร อีกแห่งหนึ่งจำนวนห้าพันบาท ผู้มีเงินได้มีหน้าที่แจ้งให้ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งตามมาตรา 50 (2) ทั้งนี้ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 181) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ ลงวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
          3. กรณีตาม 3. ดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับจากการฝากเงินกับธนาคารในประเทศ ต้องเป็นดอกเบี้ยเงินฝากที่เกิดจาก การฝากเงินเป็นรายเดือนติดต่อกันมีระยะเวลาไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่เดือนนับแต่วันที่เริ่มฝาก โดยมียอดเงินฝากแต่ละคราวเท่ากัน แต่ไม่เกินสองหมื่นห้าพันบาทต่อเดือน และรวมทั้งหมดแล้วต้องไม่เกินหกแสนบาท ทั้งนี้ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารที่จะได้รับ ยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีเงินได้ต้องเปิดบัญชีเงินฝากขึ้นใหม่โดยเฉพาะแยก ต่างหากจากบัญชีเงินฝากประเภทอื่น และต้องมีบัญชีเงินฝากที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นี้เพียงบัญชีเดียว ทั้งนี้ ตาม พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 301) พ.ศ. 2539 ประกอบกับ ข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 64) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารและ ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งเป็นการฝากเงินในประเทศ ลงวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ดังนั้น กรณีท่านเปิดบัญชีเงินฝากในกรณีดังกล่าวเป็นจำนวนมากกว่าหนึ่งบัญชีในหลายธนาคารในระหว่างที่บัญชีแรกยังไม่ครบกำหนด ท่านจะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากของบัญชีใหม่
          4. การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุด ในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดไม่เกินสามแสนบาท ได้มีการตราเป็นกฎกระทรวง ฉบับที่ 271 (พ.ศ. 2552) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และมีผลใช้บังคับแล้ว
          5. กรณีตาม 5. ผู้มีเงินได้สามารถนำเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งแสน บาท ซึ่งจ่ายให้แก่
               5.1 กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
               5.2 กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
               5.3 นิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วย นิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจดังกล่าวเข้ารับช่วงสิทธิ เป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนกองทุนรวม หรือธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้าง
               5.4 ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้างมาถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้
          6. กรณีผู้มีเงินได้ได้รับเงินได้พึงประเมินตั้งแต่หกหมื่นบาทขึ้นไปซึ่งต้องคำนวณภาษีตามมาตรา 48(2) แห่งประมวล รัษฎากรนั้น ผู้มีเงินได้จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้เฉพาะกรณีผู้มีเงินได้มีภาษีที่ต้องเสียทั้งสิ้นจำนวนไม่เกินห้าพันบาท ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป โดยผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับสิทธิ ยกเว้นภาษีดังกล่าวยังคงมีหน้าที่คำนวณและเสียภาษีสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 480) พ.ศ. 2552 และมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดง รายการตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร 
เลขตู้ : 72/36873 

view

หน้าแรก

ผลิตภัณฑโปรแกรมบัญชี

Contact Us

view