http://www.autoflight.co.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

Home

Product

Download

Contact Us

ส่วนหนึ่งของผู้ใช้งาน

SmartBiz Free

สถิติ

เปิดเว็บ08/02/2008
อัพเดท18/09/2024
ผู้เข้าชม5,056,393
เปิดเพจ7,931,801

แหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่องานบัญชี.

สรรพากรเปิดให้บริการรับแบบฯ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจ าปีภาษี 2556 นอกสถานที่เพิ่มเติม

1ก.พ.เริ่มใช้เลขผู้เสียภาษี13หลัก

ผู้เสียภาษีที่มีความประสงค์ที่จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต

"สรรพากร" เคาะภาษีบุคคลฯ อัตราใหม่ เล็งปรับลดอัตราเพดานการจัดเก็บให้ถี่ขึ้น เพื่อลดช่องว่างในแต่ละช่วงอัตราภาษีให้แคบลง

สปส.ขยายเวลายื่นกู้น้ำท่วมถึงเดือนเมษายน 255

แนวทางการช่วยเหลือโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

มาตร​การภาษี​เพื่อ​เพิ่มขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขันของประ​เทศ

ผู้บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย สามารถหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาได้ โดย

มาตรการลดภาษีสรรพสามิตสูงสุด 100,000 บาท

สัมมนาฟรี มุมมองของฟิทช์เกี่ยวกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทย

หลักการบันทึกบัญชี : หลักการบันทึกรายการทางบัญชี (Recording transaction)

ธนาคารกรุงไทย เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทารา แนวหน้า SME นักธุรกิจ แกรนด์ สัมมนาฟรี

กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

กรมสรรพากรจับมือศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐ 1111 ให้บริการตอบปัญหาภาษีทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

วิธีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี

ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (1161) ผ่านช่องทางโทรศัพท์ในระบบ Call Center ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

มาตรฐานบัญชีของไทยในปัจจุบัน

แบงก์กรุงไทยแนะรีบชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต

การบัญชีบริหาร

สรรพากรใจดีให้คนไทยที่บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย

เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล

สรรพากรเผยบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นขอลดหย่อนภาษีได้

กำหนดการจัดสัมมนาภาษีอากร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรมสรรพากรจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ E - Commerce

ปีนี้ยังจำเป็นต้องคงภาษีมูลค่าเพิ่ม ( VAT) ไว้ที่ 7% ก่อน

การประเมินระดับนวัตกรรม SMEs ไทย และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจ

บริการรับ ชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต

การประกอบกิจการต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

ภาษีคณะบุคคล

มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ภาษีคณะบุคคล

การบัญชีต้นทุน

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร

การควบคุมภายในเกี่ยวกับ การรับเงิน

ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำสินค้าที่มีไว้เพื่อขายมาใช้เพื่อการประกอบกิจการ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล โปรแกรมบัญชี

รวมคำถามที่ถามบ่อย

สิ่งที่ผู้บริหารมือใหม่ควรทราบเป็นเบี้องต้น

จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ มีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ !!

กรมสรรพากรขยายเวลารับแบบฯ ภาษีเต่างๆสำหรับบุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้กับท้องที่ที่เกิดอุทกภัย

กฎหมายออกใหม่ กรกฎาคม 2550

ข้อหารือภาษีอากร

Tax Point จุดรับผิดทางภาษี

คำถามยอดนิยม RMF LTF

การขอคืนภาษี

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้

การจำหน่ายหนี้สูญ

การขอคัดแบบแสดงรายการภาษี

การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร

การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้

ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีอากร

ทำไม กิจการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0

การออกใบกำกับภาษี

ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี

ประเภทของใบกำกับภาษี

การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

สิทธิของผู้เสียภาษี

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี

กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กำหนดหลักเกณฑ์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการขายทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร

กรมสรรพากรเตือนบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี

กรณีเงินได้จากทางราชการที่ไม่ได้รับยกเว้น

กรณีเงินได้จากทางราชการที่ไม่ได้รับยกเว้น

าษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีหลักการ จัดเก็บจากเงินได้ทุกประเภทซึ่งแบ่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) ถึง มาตรา 40(8) ครอบคลุมเงินได้ทั้งที่ได้มาโดยน้ำพักน้ำแรง (Earned Income) และที่ได้มาโดยไม่ต้องใช้ น้ำพักน้ำแรง (Unearned Income) รวมตลอดถึงเงินได้ที่เกิดจากการลงทุนในทรัพย์สิน (Capital Gain) เว้นแต่จะมีบทบัญญัติยกเว้นหรือมีข้อจำกัดขอบเขตในการเสียภาษีไว้ โดยเฉพาะ2

สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษี (Exempt Income) นั้น ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ในมาตรา 42 และมาตรา 42(17) ยังได้บัญญัติให้เงินได้ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงได้รับยกเว้นภาษีด้วย ได้แก่ กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวล-รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร นอกจากนี้ อาจได้รับยกเว้นโดยพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในมาตรา 3 ของประมวลรัษฎากร หรือได้รับยกเว้นโดยพระราชบัญญัติก็ได้ เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าว อาจจัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้หลายกรณี อาทิ ยกเว้นเนื่องจากมีลักษณะเป็นรายจ่ายหรือค่าทดแทนหรือสวัสดิการ (ประมวลรัษฎากร มาตรา 42(1)) หรือยกเว้นเพื่อส่งเสริมการศึกษา (ประมวลรัษฎากร มาตรา 42(7)) หรือยกเว้นเนื่องจากเป็นมรดก (ประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9) (10)) เป็นต้น

โดยที่มาตรา 42(7) แห่งประมวลรัษฎากร ได้กำหนดให้เบี้ยประชุมกรรมาธิการ หรือกรรมการ หรือค่าสอน หรือค่าสอบที่ทางราชการ หรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้ เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นั้น แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (รวมทั้งรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2540) ได้บัญญัติให้มีการจัดตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน (ค.ต.ง.) โดยมีหน่วยงานธุรการของแต่ละองค์กร ซึ่งมีทั้งกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นส่วนราชการ และไม่เป็นส่วนราชการ นอกจากนี้สถาบันอุดมศึกษาของทางราชการในปัจจุบันไม่มีฐานะเป็นส่วนราชการ ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ แต่มีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายจัดตั้ง สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง อีกทั้งยังมีองค์กรใหม่ๆ เกิดขึ้น อีกหลายองค์กร อาทิ องค์การมหาชน องค์กรในกำกับของรัฐ เป็นต้น กรณีจึงมีปัญหาว่า หากบุคคลธรรมดาได้รับเงินได้จากค่าเบี้ยประชุม กรรมาธิการ หรือกรรมการ หรือค่าสอน หรือค่าสอบที่หน่วยงานหรือองค์กรดังกล่าวจ่ายให้แล้ว จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42(7) แห่งประมวล-รัษฎากร หรือไม่ อย่างไร

 

ลักเกณฑ์พิจารณา

 

 

มาตรา 42(7) แห่งประมวลรัษฎากร ได้กำหนดให้เบี้ยประชุมกรรมาธิการ หรือกรรมการ หรือค่าสอน หรือค่าสอบ ที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้ เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้

"การยกเว้นตามมาตรานี้ ต้องเป็นเงินได้ที่จ่ายโดยทางราชการ ซึ่งหมายถึง หน่วยงานของรัฐที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือเป็นสถานศึกษาของทางราชการ ซึ่งได้แก่ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียน ฯลฯ ที่เป็นของทางราชการ3 แต่ถ้าเป็นเบี้ยประชุม ค่าสอน ค่าสอบที่ภาคเอกชนหรือหน่วยงานที่ไม่มีฐานะเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน เป็นผู้จ่าย จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้"

หลักเกณฑ์พิจารณาจึงแบ่งออกเป็น 2 กรณีได้แก่ กรณีเบี้ยประชุม และกรณีค่าสอน ค่าสอบที่ทางราชการจ่ายให้

 

 

กรณีเบี้ยประชุม

เบี้ยประชุมคือเงินตอบแทนสำหรับการเข้าประชุมในฐานะกรรมการหรือตำแหน่งอื่นๆ ซึ่งจะจ่ายเป็นครั้งคราวตามที่มีการประชุม

กรณีค่าตอบแทนหรือค่าเบี้ยประชุม ที่กรรมการได้รับประจำเป็นรายเดือน ถือเป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร

 

4 ผู้จ่ายเงินได้ มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร

ค่าเบี้ยประชุมที่รัฐวิสาหกิจจ่ายให้แก่คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร5

ค่าเบี้ยประชุมซึ่งจ่ายเป็นรายครั้งที่มีการประชุมและเข้าประชุม จะถือเป็นเบี้ยประชุมกรรมการที่ทางราชการจ่ายให้ซึ่งได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(7) แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่ ในเบื้องต้นจึงต้องพิจารณาว่า ผู้จ่ายมีฐานะเป็นส่วนราชการหรือไม่ แล้วจึงค่อยพิจารณาว่าเข้าลักษณะเป็นค่าเบี้ยประชุมหรือค่าสอน ตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้หรือไม่ โดยขอให้ศึกษากรณีศึกษาดังต่อไปนี้ จะทำให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น

ตัวอย่าง

(1) เรื่อง กรณีจ่ายเงินสมนาคุณคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

ประเด็นปัญหา6 : คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติได้อนุมัติให้จ่ายเงินสมนาคุณให้แก่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นรายเดือน แทนการจ่ายเบี้ยประชุมตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2533 การจ่ายเงินสมนาคุณ ให้จ่ายเฉพาะเดือนที่เข้าประชุม เดือนใดที่ไม่มีการประชุมหรือมีการประชุมแต่ไม่เข้าประชุมให้งดจ่ายโดยให้ประธานกรรมการได้รับเงินเดือนละ 10,000 บาท และกรรมการได้รับเงินเดือนละ 8,000 บาท จึงหารือว่าในการเบิกจ่ายเงินค่าสมนาคุณกรรมการแทนการจ่ายค่าเบี้ยประชุมกรรมการผู้มีเงินได้ดังกล่าวยังมีสิทธิได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(7) แห่งประมวลรัษฎากร หรือจะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ และสำนักงาน ก.พ. จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายด้วยหรือไม่

http://www.sanpakornsarn.com

 

 

view

หน้าแรก

ผลิตภัณฑโปรแกรมบัญชี

Contact Us

view