http://www.autoflight.co.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

Home

Product

Download

Contact Us

ส่วนหนึ่งของผู้ใช้งาน

SmartBiz Free

สถิติ

เปิดเว็บ08/02/2008
อัพเดท18/09/2024
ผู้เข้าชม5,076,777
เปิดเพจ7,957,696

แหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่องานบัญชี.

สรรพากรเปิดให้บริการรับแบบฯ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจ าปีภาษี 2556 นอกสถานที่เพิ่มเติม

1ก.พ.เริ่มใช้เลขผู้เสียภาษี13หลัก

ผู้เสียภาษีที่มีความประสงค์ที่จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต

"สรรพากร" เคาะภาษีบุคคลฯ อัตราใหม่ เล็งปรับลดอัตราเพดานการจัดเก็บให้ถี่ขึ้น เพื่อลดช่องว่างในแต่ละช่วงอัตราภาษีให้แคบลง

สปส.ขยายเวลายื่นกู้น้ำท่วมถึงเดือนเมษายน 255

แนวทางการช่วยเหลือโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

มาตร​การภาษี​เพื่อ​เพิ่มขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขันของประ​เทศ

ผู้บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย สามารถหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาได้ โดย

มาตรการลดภาษีสรรพสามิตสูงสุด 100,000 บาท

สัมมนาฟรี มุมมองของฟิทช์เกี่ยวกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทย

หลักการบันทึกบัญชี : หลักการบันทึกรายการทางบัญชี (Recording transaction)

ธนาคารกรุงไทย เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทารา แนวหน้า SME นักธุรกิจ แกรนด์ สัมมนาฟรี

กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

กรมสรรพากรจับมือศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐ 1111 ให้บริการตอบปัญหาภาษีทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

วิธีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี

ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (1161) ผ่านช่องทางโทรศัพท์ในระบบ Call Center ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

มาตรฐานบัญชีของไทยในปัจจุบัน

แบงก์กรุงไทยแนะรีบชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต

การบัญชีบริหาร

สรรพากรใจดีให้คนไทยที่บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย

เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล

สรรพากรเผยบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นขอลดหย่อนภาษีได้

กำหนดการจัดสัมมนาภาษีอากร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรมสรรพากรจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ E - Commerce

ปีนี้ยังจำเป็นต้องคงภาษีมูลค่าเพิ่ม ( VAT) ไว้ที่ 7% ก่อน

การประเมินระดับนวัตกรรม SMEs ไทย และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจ

บริการรับ ชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต

การประกอบกิจการต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

ภาษีคณะบุคคล

มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ภาษีคณะบุคคล

การบัญชีต้นทุน

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร

การควบคุมภายในเกี่ยวกับ การรับเงิน

ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำสินค้าที่มีไว้เพื่อขายมาใช้เพื่อการประกอบกิจการ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล โปรแกรมบัญชี

รวมคำถามที่ถามบ่อย

สิ่งที่ผู้บริหารมือใหม่ควรทราบเป็นเบี้องต้น

จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ มีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ !!

กรมสรรพากรขยายเวลารับแบบฯ ภาษีเต่างๆสำหรับบุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้กับท้องที่ที่เกิดอุทกภัย

กฎหมายออกใหม่ กรกฎาคม 2550

ข้อหารือภาษีอากร

Tax Point จุดรับผิดทางภาษี

คำถามยอดนิยม RMF LTF

การขอคืนภาษี

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้

การจำหน่ายหนี้สูญ

การขอคัดแบบแสดงรายการภาษี

การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร

การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้

ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีอากร

ทำไม กิจการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0

การออกใบกำกับภาษี

ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี

ประเภทของใบกำกับภาษี

การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

สิทธิของผู้เสียภาษี

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี

กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กำหนดหลักเกณฑ์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการขายทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร

กรมสรรพากรเตือนบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี

ภาษีซื้อเฉลี่ย

ในการทำธุรกิจผู้ประกอบการหลายรายมักทำธุรกิจให้มีความหลากหลายและครบวงจรมากขึ้นเพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยผู้ประกอบการคนเดียวอาจประกอบธุรกิจหลายประเภท ซึ่งบางธุรกิจต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและบางธุรกิจไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ธุรกิจขายปลาสวยงาม ถ้าขายเฉพาะปลาสวยงามก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้าผู้ประกอบการมีบริการรับจ้างทำและตกแต่งตู้ปลา รวมทั้งจำหน่ายอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยก็อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องจัดการกับภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในธุรกิจทั้งสองประเภทอย่างถูกต้อง

           ทําไมต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ ?

           การเฉลี่ยภาษีซื้อจะเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้ประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (NON VAT) และผู้ประกอบการได้นำสินค้าหรือบริการ   มาใช้ในกิจการทั้ง 2 ประเภท โดยไม่สามารถแยก ได้อย่างชัดเจนว่าสินค้าหรือบริการที่นำมาใช้นั้น เป็นการใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงไม่สามารถแยกแยะได้ว่า ภาษีซื้อที่เกิดจากสินค้าหรือบริการนั้นเป็นภาษีซื้อของกิจการประเภทใดแน่ จึงต้องนำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาเฉลี่ยตามส่วนของกิจการที่ตนเองนำภาษีมูลค่าเพิ่มไปใช้

          ธุรกิจอะไรบ้างที่อาจต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ ?

          การประกอบธุรกิจประเภทที่อาจจำเป็นต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ ตัวอย่างเช่น
         - การประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง (VAT) และธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (NON   VAT)
         - การประกอบธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (NON VAT) และให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง (VAT)
         - การประกอบธุรกิจขายพืชผลทางการเกษตร (NON VAT) และประกอบธุรกิจส่งออกพืชผลทางการเกษตร (VAT)
         - การประกอบธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ (NON VAT) และประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์ (VAT) 

           การเฉลี่ยภาษีซื้อมีวิธีการใดบ้าง ?

           การเฉลี่ยภาษีซื้อมี  2 วิธีคือ
           1. เฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ 
           2. เฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคาร

           การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ 

              การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ ใช้สำหรับเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดจากสินค้าหรือบริการ ที่ใช้ในการดำเนินกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ได้แก่
           1. ภาษีซื้อสำหรับค่าซื้อทรัพย์สินส่วนกลาง เช่น เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องตกแต่งสำนักงาน เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ วัสดุสิ้นเปลือง เป็นต้น
           2. ภาษีซื้อสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าโฆษณา ค่าซ่อมแซม เป็นต้น

           การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้   มีวิธีการอย่างไร ?

           การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้มีวิธีการและขั้นตอน ดังนี้

          - ปีแรกที่เริ่มมีรายได้ 

            1.ให้ประมาณการรายได้ของกิจการทั้ง 2 ประเภททั้งที่ต้องเสียและไม่ต้องเสียภาษีมูลค่า-เพิ่มในปีที่เริ่มมีรายได้ (ปีแรกที่มีรายได้เกิดขึ้นจริงไม่น้อยกว่า 6 เดือนภาษี ทั้งนี้ไม่ว่าจะมี  รายได้ต่อเนื่องกันทุกเดือนภาษีหรือไม่ก็ตาม) เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการเฉลี่ยภาษีซื้อ โดยในปีแรกให้ถือเป็นภาษีซื้อได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของภาษีซื้อที่นำมาเฉลี่ย
            2. สิ้นปีแรกที่เริ่มมีรายได้ให้ผู้ประกอบการทำการปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงของแต่ละประเภทกิจการ ภายในเดือนภาษีแรกของปีถัดจากปีที่เริ่มมี   รายได้ โดยให้ปรับปรุงตั้งแต่เดือนภาษีแรกที่ได้มีการเฉลี่ยภาษีซื้อถึงเดือนภาษีสุดท้ายของปีที่เริ่มมีรายได้ พร้อมทั้งยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30.2 เพิ่มเติมเพียงฉบับเดียวภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษีแรกภายหลังสิ้นสุดปีที่เริ่มมีรายได้ โดยแยกเป็น 2 กรณี ดังนี้

            กรณีต้องจ่ายชำระภาษีเพิ่มเติม

            ถ้าภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามประมาณการรายได้ และได้นำมาหักออกจากภาษีขายแล้ว มากกว่า ภาษีซื้อที่หักได้จริง ผู้ประกอบการจะต้องชำระภาษีซื้อส่วนที่เกินนั้น โดยผู้ประกอบการไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่อย่างใด
            นอกจากนี้ให้ผู้ประกอบการนำภาษีซื้อส่วนที่เกินดังกล่าวซึ่งยังมิได้นำไปรวมเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกิดรายการภาษีซื้อนั้น

            กรณีได้คืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

            ถ้าภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามประมาณการรายได้และได้นำมาหักออกจากภาษีขายแล้วน้อยกว่า ภาษีซื้อที่หักได้จริง ผู้ประกอบการมีสิทธิขอคืนภาษีซื้อส่วนที่ขาดนั้น
            นอกจากนี้ให้ผู้ประกอบการนำภาษีซื้อส่วนที่ขาดดังกล่าวซึ่งได้นำไปรวมเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการแล้วไปหักออกจากต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกิดรายการภาษีซื้อนั้น 

            - ปีที่ 2 และปีต่อๆไป

            1. ให้ผู้ประกอบการเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในปีที่ 2 และปีต่อๆ ไป โดยใช้รายได้ของปีที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์ในการเฉลี่ยภาษีซื้อ
            2. สิ้นปีที่ 2 และปีต่อๆ ไป ผู้ประกอบการ สามารถเลือกปฏิบัติได้ดังนี้
            - ปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในปีปัจจุบันของแต่ละประเภทกิจการ ภายในเดือนภาษีแรกของปีถัดไป โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับสิ้นปีแรกที่เริ่มมีรายได้ หรือ
           - ไม่ปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในปีปัจจุบัน วิธีนี้จะทำให้กิจการได้รับความสะดวกในการจัดทำบัญชี โดยเมื่อเริ่มต้นปีภาษีใหม่ก็จะใช้รายได้ของปีที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์ในการเฉลี่ยภาษีซื้อ
             เมื่อผู้ประกอบการได้เลือกปฏิบัติตามวิธีใดแล้วให้ถือปฏิบัติตามวิธีนั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลงได้

            กรณีศึกษา 1 การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้
            ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวย เริ่มเปิดดำเนินการในปี 2549 ประกอบธุรกิจขายปลาสวยงาม (NON VAT) และขายอุปกรณ์การเลี้ยงปลาต่างๆ (VAT) ได้ประมาณการสัดส่วนรายได้ของธุรกิจขายปลาสวยงามและอุปกรณ์การเลี้ยงปลาต่างๆ ในสัดส่วน  40  :  60 ตามลำดับในปี 2549 มีภาษีซื้อที่เกิดจากทรัพย์สินและบริการส่วนกลางที่ใช้ในกิจการทั้ง 2 ประเภท ซึ่งไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน ดังนี้

 


            เมื่อสิ้นปี 2549  ปรากฏว่ารายได้ที่เกิดขึ้นจริงของธุรกิจขายปลาสวยงามและอุปกรณ์การเลี้ยงปลาต่างๆ มีสัดส่วน  55 : 45  ตามลำดับ

            ประเด็นที่ 1 ในระหว่างปี 2549 ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวย จะต้องเฉลี่ยภาษีซื้ออย่างไรในแต่ละเดือน ?

            ในระหว่างปี 2549 ให้เฉลี่ยภาษีซื้อตามประมาณการรายได้ ของธุรกิจขายปลาสวยงามและอุปกรณ์การเลี้ยงปลาต่างๆ ในสัดส่วน 40  :  60 ตามลำดับ ในปี 2549 เป็นปีแรกที่เริ่มมี  รายได้ ให้ถือเป็นภาษีซื้อได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของภาษีซื้อที่นำมาเฉลี่ย

 

 


            ประเด็นที่ 2 สิ้นปี 2549 ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวยจะต้องปรับปรุงภาษีซื้ออย่างไร และมีผลกระทบต่อต้นทุนของทรัพย์สินและบริการอย่างไร?
          
            สิ้นปี 2549  ถือเป็นสิ้นปีแรกที่เริ่มมีรายได้ ผู้ประกอบการจะต้องปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในปี 2549 ของแต่ละประเภทกิจการ ภายในเดือนมกราคม 2550  ดังนี้

 

 


            จะเห็นได้ว่า ภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามประมาณการรายได้ มากกว่า ภาษีซื้อที่หักได้จริง  45,750 > 41,175  = 4,575 บาท

            ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องชำระภาษีเพิ่มเติม 4,575 บาท โดยยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ.30.2 เพิ่มเติมเพียงฉบับเดียว ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2550 ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่อย่างใดโดยผู้ประกอบการจะต้องนำภาษีซื้อ จำนวน 4,575 บาท ไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของปี 2549 ที่เกิดรายการภาษีซื้อนั้น

             ประเด็นที่ 3 ในระหว่างปี 2550 หากมีภาษีซื้อที่ต้องนำมาเฉลี่ย จะต้องเฉลี่ยภาษีซื้ออย่างไร ?

             ปี 2550 ถือเป็นปีที่ 2 ที่มีรายได้ให้ผู้ประกอบการเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดขึ้น โดยใช้สัดส่วนรายได้ที่เกิดขึ้นจริงของปี 2549 เป็นเกณฑ์ในการเฉลี่ยภาษีซื้อปี 2550  ในกรณีพบว่าปี 2549 ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวย มีรายได้จากการประกอบกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในสัดส่วน 55 : 45 ดังนั้นในปี 2550 ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวยจึงมีสิทธินำภาษีซื้อมาใช้ในอัตราร้อยละ 45   เมื่อสิ้นปี 2550 ผู้ประกอบการสามารถเลือกปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของ   รายได้ที่เกิดขึ้นจริง ในปี 2550 หรือเลือกที่จะ  ไม่ปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้    ที่เกิดขึ้นจริงในปี 2550 ก็ได้ แต่วิธีหลังผู้ประกอบการจะได้รับความสะดวกในการจัดทำบัญชีมากกว่า

             การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ มีข้อยกเว้นหรือไม่ ?

             การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ มีข้อยกเว้นไม่ต้องนำภาษีซื้อมาเฉลี่ย หากรายได้จากการประกอบกิจการของปีที่ผ่านมาเป็นดังนี้

            (1) หากรายได้ของปีที่ผ่านมาของกิจการ VAT มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ทั้งหมด ผู้ประกอบการมีสิทธิเลือกนำภาษีซื้อทั้งจำนวนไปหักออกจากภาษีขาย แต่ผู้ประกอบการห้ามนำภาษีซื้อดังกล่าวไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการ และสิ้นปี ก็ไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อ เช่น

                        - รายได้จากการรับเหมาก่อสร้าง (VAT)                    90%
                        - รายได้จากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (NON VAT)   10%
                                                                              รวมรายได้    100%

            (2) หากรายได้ของปีที่ผ่านมาของกิจการประเภท NON VAT มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ทั้งหมด ผู้ประกอบการมีสิทธิ เลือกไม่นำภาษีซื้อทั้งจำนวนไปหักออกจาก   ภาษีขาย แต่ให้นำไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการ และสิ้นปีก็ไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อ เช่น

                       - รายได้จากกิจการขายพืชผลทางการเกษตร (NON VAT) 90%
                       - รายได้จากการส่งออกพืชผลทางการเกษตร (VAT)         10%
                                                                               รวมรายได้        100%

                  สรุปประเด็นการเฉลี่ยภาษีซื้อได้ตามส่วนของรายได้

                 ผู้ประกอบการหลายรายอาจมีความรู้สึกว่าหากกิจการต้องทำการเฉลี่ยภาษีซื้อ จะเกิดความยุ่งยากและอาจมีปัญหาในภายหลังได้  ดังนั้นหากผู้ประกอบการต้องการหลีกเลี่ยงการเฉลี่ยภาษีซื้อ หรือต้องการขจัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการเฉลี่ยภาษีซื้อ ผู้ประกอบการควรต้องวางแผนการดำเนินธุรกิจให้ชัดเจนตั้งแต่แรก  ซึ่งมีหลายแนวทางยกตัวอย่างเช่น
                1. แยกหน่วยธุรกิจออกจากกันอย่างชัดเจนระหว่างธุรกิจที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม    กับธุรกิจที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยแยกตั้งธุรกิจเป็นคนละบุคคลหรือคนละนิติบุคคล หรือ
                2. แยกสถานประกอบการ และแยกการบริหารงานของกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากกันอย่างชัดเจน หรือ
               3. แยกรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการทั้ง 2 ประเภทออกจากกัน เช่น แยกการจัดซื้อ แยกการออกใบกำกับภาษี แยกการใช้สินทรัพย์หรือบริการ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดการเฉลี่ยภาษีซื้อให้เหลือเฉพาะที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้จริงๆเท่านั้น

http://www.sanpakornsarn.com

view

หน้าแรก

ผลิตภัณฑโปรแกรมบัญชี

Contact Us

view